แม้ว่า Sundar Pichai บุคคลที่ประสบความสำเร็จจนเป็นที่กล่าวขานในแวดวงไอทีและสื่อธุรกิจระดับโลกอยู่ในขณะนี้ จะเริ่มต้นจากครอบครัวที่มีฐานะยากจนในประเทศอินเดีย แต่ด้วยมุมมองความคิดดี ๆ ทำให้เขาไม่ปิดกั้นโอกาสที่จะศึกษาหาความรู้และดิ้นรนถีบตัวเองให้ก้าวขึ้นมาสู่จุดที่คนส่วนใหญ่ยอมรับและชื่นชมในความสำเร็จของเขา จากเด็กชายชาวอินดียที่เติบโตขึ้นมาในอพาร์ทเมนท์ห้องเช่าขนาดเล็ก พ่อเป็นวิศวกรเล็ก ๆ ในโรงงาน ส่วนแม่ก็รับหน้าที่แม่บ้านหลังจากที่มีลูก ที่บ้านไม่มีพื้นที่มากนักเขาและน้องชายต้องนอนที่ห้องรับแขก การเดินทางก็ใช้รถสาธารณะ หรือถ้าจะไปไหนกับแบบครบทั้งครอบครัวก็มีแค่มอเตอร์ไซค์คันเก่าของพ่อที่ขนทั้ง 4 ชีวิตซ้อนกันไป เขาเล่าว่า ที่บ้านของเขาเพิ่งจะมีโทรศัพท์บ้านใช้ก็เมื่อต่อที่เขาอายุ 12 ปีเข้าไปแล้วค่ะ ความยากจนในครอบครัวไม่ได้ทำให้เด็กชาย Sundar Pichai เลือกทางผิด รักสบาย แต่กลับผลักดันให้เขารักการเรียนและใฝ่หาความรู้ จนสามารถสอบชิงทุนระดับปริญญาโทสาขาวิศวกรรมไปศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัย Stanford ประเทศสหรัฐอเมริกา ด้วยฐานะการเงินที่ยากจนทำให้พ่อของเขาต้องไปกู้ยืมเงินมาเป็นค่าตั๋วเครื่องบินและค่าใช้จ่ายให้เขามีเงินติดตัวไว้ใช้จ่ายในต่างแดน ความลำบากของที่บ้านทำให้เขายิ่งตั้งใจเรียนรู้เพิ่มเติมและได้เริ่มงานในตำแหน่งวิศวกรเป็นครั้งแรกในบริษัทผู้ผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้ารายใหญ่ ต่อด้วยเรียนปริญญาโทด้านบริหารเพิ่มอีกใบที่อเมริกาและย้ายมาทำงานเป็นที่ปรึกษาฝ่ายบริหารของบริษัท McKinsey ชื่อดัง จนเมื่อปี 2004 เขาก็ตัดสินใจย้ายมาทำงานที่ Google ในส่วนงานพัฒนาระบบ Google Toolbar
ในสังคมการทำงานออฟฟิส เป็นเรื่องธรรมดาที่การทำงานต้องพบกับความขัดแย้งและการเมือง แต่ Sundar เป็นคนที่มีวิธีคิดในการรับมือกับปัญหาต่าง ๆ ได้น่าสนใจมาก ซึ่งเขาเรียกมันว่า “ทฤษฎีแมลงสาบ” สมมุติว่าคุณอยู่ในร้านอาหารแห่งหนึ่ง แล้วมีแมงสาบบินไปเกาะที่ผู้หญิงคนหนึ่ง ทันทีที่เธอรู้ตัว เธอก็เริ่มร้องและลุกเต้น ใช้มือทั้งสองข้างปัดป้องให้แมลงสาบไปให้พ้นตัวเธอ แต่มันก็ไม่ยอมไป ปฏิกริยาของเธอกับแมลงสาบเริ่มทำให้คนรอบข้างหวาดระแวงตามไปด้วย สุดท้ายแมลงสาบก็บินไปจากตัวเธอ และเลยไปเกาะที่ผู้หญิงอีกคนในโต๊ะเดียวกัน ผู้หญิงคนนั้นก็ทำแบบเดียวกับผู้หญิงคนแรก คือลุกหลบปัดป้องแมลงสาบชุลมุนไปหมด เมื่อพนักงานเสิร์ฟเห็นอย่างนั้น จึงรีบเดินเข้าไปเพื่อจะช่วยหยุดความวุ่นวาย แต่แล้วเจ้าแมลงสาบกลับบินตรงมาเกาะที่ผ้ากันเปื้อนของเขาอย่างจัง พนักงานเสิร์ฟคนนั้นจึงหยุดนิ่งและเริ่มจับสังเกตการเคลื่อนไหวของแมลงสาบตัวนั้น จนมันไต่ขึ้นมาที่เสื้อเชิ้ตเขา ทันใดนั้นเขาก็คว้ามันเอาไว้และเหวี่ยงมันออกไปนอกร้านอาหารทันที สิ่งที่สร้างความวุ่นวายไปทั่วร้านคืออะไร ใช่แมลงสาบหรือเปล่า ถ้าใช่แล้วทำไมพนักงานเสิร์ฟถึงสงบนิ่งกว่า จากมุมมองนี้ Sundai บอกว่ามันคือวิธีที่เราจัดการกับเรื่องกวนใจต่าง ๆ ในชีวิต ไม่ว่าจะเป็นเสียงบ่น, รถติด หรือคำนินทาให้ร้าย ถ้าเราไม่นำมาหงุดหงิด เราก็จะไม่รู้สึกแย่ คนรอบข้างก็เช่นกัน ดังนั้นปัญหาต่าง ๆ สามารถแก้ได้ที่ตัวเราเอง เมื่อคิดได้อย่างนี้แล้ว จึงไม่แปลกที่เขาจะไม่เคยสร้างความขัดแย้ง หรือ งัดข้อกับใคร ๆ ในที่ทำงานเลย ตรงกันข้ามเขากลับได้ฉายาว่า Mr. Niceguy อีกด้วย เพราะท่าทีที่ถ่อมตัว และความเป็นนักพูดที่ปะนีปะนอมได้ดี ช่วยลดการกระทบกระเทียบระหว่างทีมได้มาก ทำให้เขาขึ้นชื่อว่าสร้างทีมที่เข้มแข็งให้กับ Google อีกด้วย
เหตุการณ์ที่สะท้อนแนวคิดในการทำงานเป็นเลิศของ Sundar นั้นแจ่มชัดขึ้น เมื่อเขาต้องประสานงานกับทีมพัฒนาระบบ Android ของ Google และเป็นที่ทราบกันดีภายในองค์กรว่า ความวุ่นวายในการทำงานกับทีมพัฒนา Android นั้นมีมากถึงขนาดที่มีการเปรียบกันเองว่าดีลงานกับลูกค้าใหญ่อย่าง Apple ยังง่ายกว่าซะอีก ซึ่งในขณะนั้น Sundar ดูแลฝ่ายพัฒนาระบบ Chrome แต่ฝ่ายที่ดูแลระบบ Android กลับเลือกใช้ Browser ตัวอื่นบน Android แทนที่จะเป็น Chrome ของ Google เจอเหตุการณ์หักหน้าแบบนี้ ถ้าเป็นคนอื่นก็อาจจะเกิดวิวาทะระหว่างทีมไปแล้ว แต่ไม่ใช่ตามสไตล์ของ Sundar เพราะเขาเลือกที่จะนิ่งเฉย และในวันนี้เขาคือผู้ที่ได้รับความไว้วางใจจาก Larry Page หนึ่งในผู้ก่อตั้ง Google ให้เข้ามาดูแลและปรับปรุงระบบงานในส่วน Android นี้แทนค่ะ
แม้แต่สื่อในประเทศอินเดียเองยังนำความสำเร็จของเขามาวิเคราะห์ถึงการยอมรับและการเปิดกว้างในตลาดโลกที่มอบหมายให้ชาวอินเดียขึ้นมาคุมการบริหารในบริษัทชั้นนำไว้ได้อย่างน่าสนใจว่า อาจเป็นเพราะคนอินเดียมีพื้นฐานภาษาอังกฤษค่อนข้างดีกว่าชาติอื่น ๆ ในโซนเอเซีย, มีความมุ่งมั่นอยากยกระดับตัวเองให้พ้นจากความยากจนภายในประเทศ บวกกับได้พื้นฐานในการเข้าใจเศรษฐกิจของตลาดเกิดใหม่เป็นอย่างดีและความที่เป็นคนเอเซียจึงเป็นคนที่มีความเห็นอกเห็นใจเพื่อนร่วมงานมากกว่าผู้บริหารชาวตะวันตก แต่สำหรับ Sundar Pichai แล้ว ความสำเร็จในวันนี้น่าจะเป็นผลมาจากแนวคิดดี ๆ ในการดำเนินชีวิตและวิธีรับมือกับปัญหาในสไตล์ Sundar คืออีกกุญแจดอกสำคัญที่ทำให้เขาสามารถพลิกชีวิตจากศูนย์มาเป็นนักบริหารที่ประสบความสำเร็จระดับโลกได้ค่ะ
อยากมีบทความดี ๆ แบบนี้ สั่งซื้อเลย รับเขียนบทความ 1000content.com