เมื่อตอนที่แล้วได้นำเสนอแนวคิดของนักวิทยาศาสตร์ อย่าง ไอนสไตน์ ที่ได้ศึกษาหลุมดำในสมัยก่อน โดย ไอนสไตน์ ให้ความเห็นว่าหลุมดำไม่สามารถใช้ในการเดินทางจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่งได้เนื่องมากจากสภาพของแรงดึงดูดที่จะทำลายทุกอย่างอีกทั้งการเปิดปิดของหลุมดำนั้นมีเวลาเพียงอันสั้น เมื่อใครเขาไปแล้วจะถูกบดขยี้จนสลายไป แต่สำหรับนักดาราศาสตร์ที่เขียนหนังสือ A novel Contact และนำมาผลิตเป็นภาพยนตร์ได้นำเสนอของหลุมดำอีกในแง่มุมหนึ่งว่ามันสามารถเป็นตั๋วสำหรับการเดินทางที่เราไม่อาจจะได้ทางไปถึงได้เมื่อใช้ความเร็วเท่ากับแสงก็ตาม
นักวิทยาศาสตร์เริ่มนำแนวคิดของหนังเรื่องนี้มาศึกษาอย่างจริงจัง และค้นหาว่าหลุมดำที่มีอยู่ในจักวาลนั้นจะมีสักอันไหมที่จะแตกต่างจากแนวคิดของ ไอนสไตน์ ที่ใช้ในการเดินทางได้ โดยนักวิทยาศาสตร์ได้นำสูตรคำนวณทฤษฏีสัมพันธ์ภาพมาใช้ในการค้าหาสิ่งที่มีความสัมพันธ์กันนอกอวกาศ ซึ่งการค้นหาของนักวิทยาศาสตร์สมัยใหม่จะต้องพยายามค้นหาหลุมดำที่ไม่สูญหายและทำให้มันเปิดอยู่ตลอดเวลาอีกทั้งยังต้องป้องกันจากการบีบตัวของมันอีกด้วย ซึ่งนักวิทยาศาสตร์ มิชิโอะ คากุ ได้ให้ข้อมูลว่า ถ้าจะทำให้มันเป็นแบบนั้นได้จะต้องมีสสารบางอย่างซึ่งเป็นสสารลบ เป็นสสารพิเศษที่เป็นสสารใหม่ ที่จะทำให้หลุมดำอยู่ตัว ไม่ปิดลง และนักวิทยาศาสตร์ มิชิโอะ คากุได้กล่าวเพิ่มเติมอีกว่า สสารที่เสนอดังกล่าวนั้น อาจจะไม่มีอยู่จริงเพราะเป็นสสารที่ต่อต้านแรงดึงดูด ซึ่งแทบจะจินตนาการณ์ไม่ได้ว่าเป็นอย่างไร แต่ถ้าสามารถค้นหา หรือทดลองได้ มันก็จะเป็นกุญแจที่ไขปริศนาในการเดินทางภายในหลุมดำด้วยเช่นกัน
อย่างไรก็ตามแนวคิดการเดินทางด้วยหลุมดำ มันทำให้บุคคลที่ชื่นชอบวิทยาศาสตร์ได้เข้ามาศึกษาค้นคว้าอย่างจริงจัง เพราะถ้ามันเกิดขึ้นจริงบนโลกของเราได้ มนุษย์ก็สามารถสร้างสถานีรถไฟฟ้าบนโลกที่ให้เดินทางผ่านหลุมดำจากกาแล็คซี่ที่เราอยู่ไปยังอีกกาแล็คซี่หนึ่งได้ โดยใช้เวลาในการเดินทางไม่นาน
ที่มาของรูปภาพ : wikimedia.org
อยากมีบทความดี ๆ แบบนี้ สั่งซื้อเลย รับเขียนบทความ 1000content.com