สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) เชิญชวนชาวไทยร่วมชมปรากฎการณ์ดาวเสาร์โคจรเข้าใกล้โลกมากที่สุดในรอบปี ในคืนวันที่ 15 มิ.ย.นี้ โดยจะมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าในทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ และหากใช้กล้องโทรทรรศน์ที่มีกำลังขยายมากกว่า 30 เท่า ก็จะมองเห็นวงแหวนของดาวเสาร์ได้อย่างชัดเจนอีกด้วย
ภาพ : https://www.thairath.co.th/content/972377
ปรากฏการณ์ดาวเสาร์โคจรใกล้โลกมากที่สุดในรอบปีนี้ ได้รับการประกาศและประชาสัมพันธ์อย่างเป็นทางการจากสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) ว่าจะเกิดขึ้นในวันที่ 15 มิถุนายนนี้ โดยดาวเสาร์จะปรากฏในท้องฟ้าด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ โดยจะขึ้นเห็นชัดเจนเวลาประมาณหนึ่งทุ่มครึ่งเป็นต้นไป และจะสังเกตได้เรื่อย ๆ จนถึงเวลารุ่งเช้า โดยจะปรากฏระหว่างกลุ่มดาวแมงป่องและกลุ่มดาวคนยิงธนู
ทั้งนี้ดาวเสาร์จัดเป็นดาวเคราะห์ลำดับที่ 6 ในระบบสุริยะจักรวาล เป็นดาวเคราะห์แก๊สที่มีขนาดใหญ่เป็นลำดับที่ 2 รองจากดาวพฤหัสบดีมีจุดเด่นคือมีวงแหวนล้อมรอบที่สวยงาม ซึ่งเกิดจากอนุภาคสารที่ประกอบด้วยน้ำแข็งเป็นองค์ประกอบหลัก มีมวลหนาแน่นมากกว่าโลกถึง 96 เท่า มีดวงจันทร์เป็นบริวารมากกว่า 22 ดวง และยังคงคุ้นพบวัตถุบริวารเพิ่มเติมอีกเรื่อย ๆ การที่ดาวเสาร์ได้โคจรมาใกล้โลกมากที่สุดในรอบปี จึงเป็นโอกาสดีที่ผู้ที่รักและสนใจในด้านดาราศาสตร์หรือปรากฏการณ์นอกโลกจะได้ศึกษาเพื่อหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับดาวเสาร์ให้มากยิ่งขึ้น ซึ่งอาจจะเป็นประโยชน์ต่อไปในอนาคต
สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ ยังได้แจ้งสถานที่ที่มีการจัดงานการรับชมปรากฏการณ์ดาวเสาร์เข้าใกล้โลกครั้งนี้หลายแห่งทั่วประเทศไทย เช่น ลานกิจกรรมหน้าศูนย์การค้าเมญ่าไลฟ์สไตล์ ชอปปิ้งเซ็นเตอร์ จังหวัดเชียงใหม่ หอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบพระชนมพรรษา จังหวัดนครราชสีมาและฉะเชิงเทรา และสถาบันที่เกี่ยวข้องกับดาราศาสตร์อีกมากกว่า 200 แห่งทั่วประเทศ เรียกได้ว่าใกล้ที่ไหนก็สามารถเดินทางไปรับชมได้ แต่ขอแนะนำว่าให้สังเกตสภาพอากาศให้ดีก่อนออกจากบ้าน เพราะบางพื้นที่อาจจะมีฝนตกหนัก อาจส่งผลต่อทัศนวิสัยการมองเห็นและทำให้ท้องฟ้าปิด ซึ่งไม่สามารถรับชมปรากฏการณ์ได้อย่างเต็มที่
ภาพ : www.NARIT.or.th
ในรอบหนึ่งปีจะมีปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่เกี่ยวข้องกับดาราศาสตร์และเทหวัตถุบนท้องฟ้านอกอวกาศเกิดขึ้นมากกมาย โดยปรากฏการณ์ดาวเสาร์โคจรใกล้โลกก็เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่มีความน่าสนใจ เนื่องจากดาวเสาร์เป็นดาวเคราะห์แก๊สวงนอกระบบสุริยะ ที่ยังมีความรู้หรือข้อมูลทางกายภาพไม่มากนัก เมื่อดาวเสาร์มาเยี่ยมเยือนโลกใกล้ ๆ ก็เป็นโอกาสดีที่เราจะได้ทำความเข้าใจ ทำความรู้จักดาวเคราะห์วงแหวนสุดน่ารักดวงนี้ อาจจะได้อะไรดี ๆ อีกมากมายแน่นอน