ปัจจุบันนี้ หากเราจะนึกถึงเรื่องของเฟอร์นิเจอร์ หรือ อุปกรณ์ตกแต่งบ้านเก่ ๆ หลาย ๆ คนก็มักจะชักชวนกันไปเดินดูสินค้าที่ร้านเฟอร์นิเจอร์ชื่อเก๋อย่าง IKEA ที่เพิ่งจะมาเปิดตัวในประเทศไทยได้ไม่กี่ปี แต่เรื่องราวของแบรนด์เฟอร์นิเจอร์ดีไซน์เรียบง่าย ถูกใจ ทุกเพศ ทุกวัย นั้น มีจุดกำเนิดจากประเทศสวีเดน โดยผู้ก่อตั้งบริษัท IKEA นั้นก็คือ Ingvar Kamprad และเขาคนนี้ก็ได้รับความสนใจจากทั่วโลกมากขึ้นหลังจากที่เขาได้ขึ้นแท่นมหาเศรษฐีระดับโลกอันดับที่ 5 ด้วยมูลค่าทรัพย์สินที่มากมายราว ๆ 22 พันล้านเหรียญสหรัฐค่ะ ซึ่งก็เป็นที่ทราบกันดีว่า ระยะเวลา 2 – 3 ปีมานี้ เศรษฐกิจฟากฝั่งยุโรปนั้นเจอสภาพวิกฤษกันอย่างหนักหน่วง แล้วทำไมกิจการร้านขายเฟอร์นิเจอร์ถึงยังสามารถทำกำไรและกวาดรายได้ไปได้มากขนาดนั้นอยู่ กลเม็ดหรือกลยุทธ์อะไรที่ทำให้แบรนด์ร้านขายเฟอร์นิเจอร์อย่าง IKEA สามารถขยายสาขาไปได้มากถึง 296 สาขาใน 44 ประเทศทั่วทุกมุมโลก และนับว่าเป็นร้านขายเฟอร์นิเจอร์ที่ใหญ่ที่สุดในคาบสมุทรสแกนดิเนเวียด้วยค่ะ
นิยามความเป็น IKEA นั้นสะท้อนและถ่ายทอดออกมาชัดเจนจากชายที่ชื่อ Ingvar Kamprad ผู้ก่อตั้งบริษัทนี้ เพราะชื่อของแบรนด์นั้นก็มาจากอักษรตัวแรกของชื่อและนามสกุลของเขา ส่วนอักษร 2 ตัวถัดมาก็มาจากสถานที่ที่เขาผูกพันและเติบโตขึ้นมาตั้งแต่วัยเด็กซึ่งก็คือ ฟาร์ม Elmtaryd และ หมู่บ้าน Agunnaryd ซึ่งอยู่ทางตอนใต้ของสวีเดนและเป็นบ้านเกิดของ Ingvar นั่นเองค่ะ บรรพบุรุษของ Ingvar เป็นชาวเยอรมันที่ย้ายครอบครัวมาปักหลักที่สวีเดนด้วยการทำฟาร์ม แรกเริ่มนั้นกิจการไม่ดี ทำให้คุณปู่ของเขาเสียชีวิตไป แต่ก็ได้แรงสำคัญของครอบครัวคือคุณย่ามารักษาฟาร์มนี้เอาไว้และส่งต่อมาให้พ่อแม่ของ Ingvar ดูแลกิจการต่อ ด้วยความเป็นคนรักการทำธุรกิจ เด็กชาย Ingvar จึงเริ่มขายของตั้งแต่อายุได้เพียง 5 ขวบเท่านั้น สินค้าชิ้นแรกที่เขาหัดขายก็คือไม้ขีดไฟ โดยขายเพื่อนบ้านในละแวกนั้น ต่อมาเมื่อ Ingvar โตขึ้น เขาก็เริ่มปั่นจักรยานออกไปขายของในระยะทางที่ไกลออกไป วิธีสร้างกำไรจากการขายของในวัยเด็กก็คือ เขาไปซื้อไม้ขีดไฟราคาขายส่งมา ทำให้ราคาต้นทุนต่ำ จากนั้นก็นำมาแยกแบ่งขายในราคาไม่แพงนัก เท่านี้เขาก็ได้กำไรมาเป็นทุนสำหรับซื้อสินค้าอย่างอื่น ๆ มาขายเพิ่มความหลากหลายเข้าไปอีก ซึ่งก็มีมากมายทั้ง เมล็ดพันธุ์ดอกไม้, อุปกรณ์แต่งประดับต้นคริสต์มาส, การ์ดอวยพรสำหรับเทศกาลและโอกาสพิเศษต่าง ๆ ปากกาลูกลื่นและรวมไปถึงดินสอ ด้วยค่ะ ทำให้ร้านค้าแรกที่เขาเปิดก็คือร้านขายของชำ ค่ะ
จนกระทั่งปี 1947 Ingvar ก็หันมาเทใจให้กับร้านขายเฟอร์นิเจอร์ เมื่อเขาได้ศึกษาเรียนรู้ทั้งเรื่องการออกแบและการประกอบเฟอร์นิเจอร์อย่างจริงจัง โดยการเน้นว่า งานของ IKEA นั้นต้องมีความเรียบง่ายเหมาะกับการใช้งานและจัดวางได้ทุกมุมของบ้าน แต่ในขณะเดียวกันเฟอร์นิเจอร์ทุกชิ้นก็ต้องมีความทนทาน, ใช้สอยได้จริง และราคาไม่แพง ใคร ๆ ก็สามารถเป็นเจ้าของได้ทั้งนั้น นี่คือโจทย์งานดีไซน์ที่ IKEA ใช้ขับเคลื่อนธุรกิจ สิ่งหนึ่งที่ Ingvar เคยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเอาไว้ก็คือ การออกแบบเฟอร์นิเจอร์ราคาพันดอลลาร์นั้นไม่ใช่เรื่องยากอะไรมากนัก แต่การที่จะออกแบบเฟอร์นิเจอร์ราคาหลักห้าสิบดอลลาร์ให้ใช้ประโยชน์ได้จริง ๆ นี่สิ หินและท้าทายมากที่สุด จากมุมมองนี้ของ Ingvar ทำให้ผลงานออกแบบของ IKEA สามารถเจาะกลุ่มตลาดลูกค้าระดับปานกลางไปจนถึงลูกค้าที่มีรายได้น้อยได้สบาย ๆ เรียกได้ว่า มาเรียบ ๆ แต่กินเพลิน ๆ ค่ะ
ความสำเร็จของ IKEA ที่โดดเด่นมากอีกด้านหนึ่งก็คือ เรื่องของการนำไอเดียเฟอร์นิเจอร์ถอดประกอบเองได้ หรือ DIY หรือ Ready to Assemble Furniture มาใช้ ซึ่งแนวคิดนี้เกิดขึ้นมาจากการขนย้ายเฟอร์นิเจอร์เพื่อนำไปส่งให้ลูกค้าแล้วขาโต๊ะยื่นออกมา ทำให้พนักงานไม่สามารถปิดประตูได้ จึงเปรยออกมาว่า “ถอดขาโต๊ะออกไปไว้ด้านใต้แล้วกัน” จากจุดเล็ก ๆ ที่เป็นปัญหาการขนส่งที่เรา หรือ อีกหลาย ๆ บริษัท ก็เคยเจอ แต่ที่นี่ ที่ IKEA คำถามนี้ฉีกแนวคิดเรื่องการออกแบบเฟอร์นิเจอร์แบบเดิม ๆ ทันที กลายมาเป็น ไอเดียเฟอร์นิเจอร์ถอดประกอบเองได้ ที่ไม่เพียงแก้ปัญหาเรื่องการขนส่ง แต่ยังทำให้การเคลื่อนย้ายเฟอร์นิเจอร์ชิ้นใหญ่ ๆ เป็นเรื่องจิ๊บ ๆ ไปเลย เมื่อมันถูกบรรจุแพคลงกล่องบาง ๆ เรียบ ๆ นอกจากสินค้าจะไม่ยุบ บุบ และอาจเสี่ยงกับการกระแทกระหว่างการขนส่งแล้ว ยังช่วยลดต้นทุนด้านการขนส่งไปได้เยอะมาก คิดดูสิค่ะ พื้นที่ที่ใช้ต่อตารางนิ้วลดลงไปตั้งเท่าไร เริ่ดมาก ๆ ที่สำคัญ สร้างความแตกต่างและเป็นผู้นำตลาดเฟอร์นิเจอร์ไปอย่างสวยงามเลย ณ จุดนี้
กุญแจดอกสำคัญที่ IKEA ยังคงใช้ในการสร้างความมั่นคงให้กับธุรกิจของตนก็คือ การพัฒนาอย่างไม่หยุดนิ่ง แนวคิดและลูกเล่นสำคัญของ IKEA นั้นมาจากการที่นักออกแบบกว่า 90 คนของเขา จะได้รับการบ้านให้คิดงานดีไซน์จากวัสดุเหลือใช้หรือไม่ก็วัสดุพื้นผิวใหม่ ๆ ภายใต้คำจำกัดความที่ว่า Minimalism, Functionalism และ Flat Packaging ซึ่งหมายถึง การออกแบบที่เน้นความเรียบง่ายแต่ต้องใช้ประโยชน์ได้มากและ ถอดแยกประกอบเองได้ง่าย ๆ ค่ะ
อยากมีบทความดี ๆ แบบนี้ สั่งซื้อเลย รับเขียนบทความ 1000content.com