ภาพ : www.khaosod.co.th
สร้างความกังวลใจให้กับคุณพ่อไม่น้อยเลยทีเดียว สำหรับน้องมายู ลูกสาวสุดที่รักของคุณหนุ่มกรรชัย กำเนิดพลอย พิธีกรตัวจิ๋ว ในรายการดาวินชี่ ถอดรหัสเด็ก เริ่มมีพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปเอาแต่ใจอย่างเห็นได้ชัด โดยในวันนี้ 6 มิถุนายน 2560 คุณหนุ่ม กรรชัย ได้กล่าวกับสื่อว่า ตนและภรรยา (คุณเมย์ เฟื่องอารมณ์) ต่างคนก็ต่างต้องออกไปทำงานด้วยกันทั้งคู่ จึงต้องฝากน้องไว้กับพี่เลี้ยง และตัวเองก็คิดว่าหากเอาลูกมาทำงานด้วยดีกว่า แต่พอเอามาถึงจริง ๆ กลับทำให้ปวดหัวมากกว่าเดิม และบางครั้งที่เกิดอาการงอแงโวยวาย เอาแต่ใจหนัก ๆ ก็จะล้มตัวลงนอนแล้วกรี๊ดร้อง จนเอาไม่อยู่ ซึ่งเรื่องที่เกิดขึ้นทำให้รู้สึกเกิดความกังวล เพราะตัวเองนั้นรับมือไม่ไหวและกลัวคนภายนอกจะมองว่าครอบครัวตนเลี้ยงลูกแบบตามใจ จนต้องไปพบจิตแพทย์เด็กเพื่อหาวิธีการแก้ไข
ภาพ : http://www.kapook.com
จากกรณีของข่าวเรามีข้อแนะนำสำหรับวิธีการแก้ไขพฤติกรรมของลูกมาฝาก บ่อยครั้งที่ทั้งคุณพ่อและคุณแม่จะเจอกับพฤติกรรมที่ลูกงอแง เอาแต่ใจ เมื่อไม่ได้อย่างใจก็เอาแต่กรี๊ดร้องไม่มากก็น้อยใช่ไหมล่ะค่ะ ซึ่งพฤติกรรมแบบนี้จะเกิดได้บ่อยในเด็กวัย 1-3 ปีขึ้นไป ซึ่งการกรี๊ดร้อง โวยวายเสียงดังของเด็กคุณพ่อและคุณแม่จะต้องดูดี ๆ และคอยสังเกตว่าลูกต้องการอะไร
ลูกกรี๊ดร้องเอาแต่ใจสาเหตุมากจาก
1.เป็นการแสดงอารมณ์ของลูก ซึ่งอาจจะรู้สึก โมโห หงุดหงิด ขัดใจ เพราะยังไม่สามารถที่จะควบคุมอารมณ์ของตัวเองได้ ซึ่งเมื่อโตขึ้นพฤติกรรมเหล่านี้จะลดลงและหายไปเอง
2.เรียนรู้ถึงความต้องการของตัวเอง เมื่อเด็ก ๆ แสดงอารมณ์ด้วยการกรี๊ดร้อง แล้วมักจะได้ในสิ่งที่ต้องการ เด็กก็จะแสดงพฤติกรรมนั้นออกมาเสมอๆ
3.ใช้วิธีการกรี๊ดเพื่อเรียกร้องความสนใจ
4.เลียนแบบพฤติกรรมที่เห็นจากคนรอบข้าง เช่น จากสื่อต่าง ๆ ที่แสดงอารมณ์ให้เด็กเห็น
5.เกิดจากการยั่วยุจากคนรอบข้าง เช่น พี่เลี่ยง พ่อ แม่ เพื่อให้เด็กโกรธ
6.เกิดจากการเลี้ยงดูที่ตามใจ ส่งเสริมให้เด็กเอาแต่ใจ ไม่สอนให้รู้จักควบคุมอารมณ์ตัวเอง
ภาพ : http://www.kapook.com
วิธีการแก้ไขเมื่อลูกกรี๊ดร้อง
1.ให้ความสนใจกับลูก ขณะที่ยังไม่กรี๊ดร้อง ลูกทำอะไรก็ควรหันไปให้ความสนใจ ซึ่งโดยปกติแล้วเด็กจะไม่กรี๊ดร้องตลอดเวลาอยู่แล้ว แต่เป็นเพราะพฤติกรรมบางอย่างที่เวลาเด็กกรี๊ดร้องเขาจะได้รับความสนใจจากผู้ใหญ่ทันที ทำให้เด็กคิดว่าการส่งเสียงกรี๊ดร้องเป็นสิ่งที่ดึงความสนใจได้เด็ก ๆ ก็จะทำพฤติกรรมนั้นอยู่เรื่อย ๆ
2.ในกรณีที่ลูกเอาแต่ใจ ทุกอย่างต้องได้ ถ้าไม่ได้จะโวยวายส่งเสียร้อง ซึ่งพฤติกรรมเหล่านี้ทั้งคุณพ่อและคุณแม่จะต้องเปลี่ยนท่าทางการเลี้ยง โดยการเพิ่มทักษะให้เด็กรู้จักการช่วยเหลือตัวเอง เช่น การใส่เสื้อผ้าเอง การใส่รองเท้าเอง เก็บของเล่นเอง จะช่วยให้เด็กไม่ต้องคอยเรียกร้องความสนใจให้กับตัวเอง อีกทั้งยังเป็นการช่วยให้เด็กโตขึ้นอีกด้วย
3.ฝึกให้เด็กรู้จักควบคุมอารมณ์ของตัวเอง ไม่ว่าจะเป็น อารมณ์รัก อารมณ์โกรธ โมโห หงุดหงิด ซึ่งเป็นหน้าที่ของพ่อและแม่ที่จะต้องสอนให้รู้จักระบายอารมณ์ อาจจะทำโดยการพูดคุย หากิจกรรมอื่น ๆ มาทดแทน เช่น การว่ายน้ำ การวาดรูป เตะฟุตบอล เป็นต้น
5.เพิ่มทักษะในการเล่น การเล่นและการทำกิจกรรมจะทำให้เด็ก ๆ ผ่านภาวะอารมณ์ต่าง ๆ ไปได้เป็นการได้ใช้เวลาระบายความรู้สึกผ่านการเล่น
ที่จริงแล้วพฤติกรรมการแสดงอารมณ์ของเด็ก ๆ จะเป็นไปตามวัยยิ่งในช่วง 1-3 ปีแรก จะเป็นช่วงวัยที่ค่อนข้างจะเป็นตัวของตัวเองสูง เกรงใจไม่เป็น ไม่รู้จักกฎ ระเบียบต่าง ๆ ดังนั้นพ่อแม่และผู้ปกครองต้องเป็นคนที่สอนและเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับเด็ก ๆ ด้วย