สำหรับคนรักการเดินทาง หรือคนที่ต้องใช้ช่วงเวลาในต่างแดนอยู่บ่อยครั้ง ต้องมีประสบการณ์การใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตในต่างประเทศมาบ้างแล้วอย่างแน่นอน แต่สำหรับใครก็ตามที่ยังไม่เคยมีประสบการณ์นี้ หรือยังไม่ทราบว่าทุกครั้งที่ใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตในต่างประเทศ เราจะต้องเสียค่าธรรมเนียม หรือค่าใช้จ่ายอะไรเพิ่มเติมจากปกติบ้าง วันนี้เรามีความรู้ดี ๆ มาฝาก จะได้รู้ว่าการใช้บัตรเครดิตแต่ละครั้ง จะเกิดค่าใช้จ่ายอะไรตามมาบ้าง
ก่อนอื่น เราต้องเข้าใจก่อนว่า การที่เรานำบัตรเครดิตไปใช้จ่ายในต่างประเทศนั้น จะต้องมีการแปลงค่าเงินกลับไปกลับมา ซึ่งแน่นอนว่า อันดับแรกที่เราจะต้องรับความเสี่ยงให้ได้ คือค่าเงิน หรือเรทแลกเปลี่ยนเงินในช่วงเวลาที่รูดซื้อสินค้าในต่างประเทศนั่นเอง ซึ่งโดยปกติแล้ว ไม่ว่าเราจะนำบัตรเครดิตไปรูดซื้อสินค้า หรือรูดใช้จ่ายที่ประเทศไหนก็ตาม หากสกุลเงิน ณ ประเทศนั้น ไม่ใช่ US Dollars ก็จะมีการแปลงไปเป็น US Dollars ก่อน 1 รอบ แล้วจึงค่อยนำมาแปลงเป็นเงินบาท เป็นลำดับสุดท้าย สำหรับอัตราแลกเปลี่ยนที่ใช้แปลงค่าสกุลเงิน ก็จะขึ้นอยู่กับเรทที่ประกาศไว้ตามแบรนด์ของบัตรเครดิตที่เรานำไปใช้รูด ได้แก่ Visa Card, Master Card, Union Pay, JCB และ AMEX
ลำดับต่อไป คือค่าใช้จ่ายที่จะเพิ่มเติมมาแน่ ๆ นั่นคือ ค่าความเสี่ยงจากการแปลงสกุลเงิน ซึ่งจะใช้กันเป็น % โดยทั่วไปแล้วจะใช้กันอยู่ที่ 2.5% แต่สำหรับบัตรเครดิต KTC นั้นใช้ที่ 2% ซึ่งถือว่าต่ำกว่าเจ้าอื่น ๆ อย่างเห็นได้ชัด
เราได้รู้กันคร่าว ๆ แล้วว่า การรูดบัตรซื้อสินค้าและใช้จ่ายที่ต่างประเทศนั้น มีปัจจัยอะไรที่เพิ่มเติมจากการรูดบัตรซื้อสินค้าตามปกติภายในประเทศบ้าง หลังจากนี้เราจะไปต่อกันที่วิธีการคำนวณอย่างง่าย ๆ กันเลย
ตัวอย่างการคำนวณ
โจทย์
คุณใช้บัตรเครดิตของค่าย VISA รูดซื้อสินค้าที่ประเทศญี่ปุ่น จำนวน 14,900 เยน
วิธีการคำนวณ
- นำค่าเงินเยน มาแปลงเป็นค่าเงิน US Dollars โดยใช้อัตราแลกเปลี่ยนที่ประกาศไว้ในหน้าเว็บไซต์ของ JCB โดยเลือกดูอัตราแลกเปลี่ยนที่ประกาศไว้ในวันที่เราใช้บัตรเครดิตรูดซื้อสินค้าทำรายการ
– อัตราแลกเปลี่ยน USD 1 = JPY 115.360 ดังนั้น JPY 14,900 จะเท่ากับ 14,900 ÷ 115.360 = USD 129.160
- เมื่อได้จำนวนเงินในค่าเงิน US Dollars แล้ว ก็นำมาแปลงให้เป็นเงินบาทอีกรอบหนึ่ง
– อัตราแลกเปลี่ยน USD 1 = THB 36.603 ดังนั้น USD 129.160 จะเท่ากับ 129.160 x 36.603 = 4,727.64 บาท
- นำค่าเงินบาทที่คำนวณได้ มาคำนวณกับค่าความเสี่ยงจากการแปลงสกุลเงินต่อ ซึ่งเราจะทดลองใช้ค่าของบัตรเครดิต KTC หรือบัตรเครดิตของธนาคารกรุงไทย มาใช้คำนวณ
– 4,727.64 x 2% = 94.55 บาท
- สรุปยอดค่าใช้จ่ายที่จะแสดงรายการในใบแจ้งหนี้ สำหรับรายการนี้ คือ
– 4,727.64 + 94.55 = 4,822.19 บาท
หากจะลองเปรียบเทียบส่วนต่างอย่างง่าย ๆ โดยไม่คำนึงถึงอัตราแลกเปลี่ยนของค่าสกุลเงินต่าง ๆ เราก็จะสรุปได้ว่า เราจะมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมขึ้นมาในรายการนี้ จำนวน 94.55 บาท ด้วยกัน แต่นี่เป็นกรณีของบัตรเครดิต KTC หรือบัตรเครดิตของธนาคารกรุงไทย ซึ่งมีค่าความเสี่ยงจากการแปลงสกุลเงินต่ำเพียง 2% เท่านั้น แล้วถ้าเราไม่มีบัตรเครดิต KTC หรือบัตรเครดิตของธนาคารกรุงไทย แต่เป็นแบรนด์อื่นที่คิดค่าความเสี่ยงจากการแปลงสกุลเงินอยู่ที่ 2.5 % ล่ะ ยอดเงินจะแตกต่างไปประมาณไหนกัน
ตัวอย่างการคำนวณเมื่อใช้บัตรเครดิตอื่น ที่ไม่ใช่ บัตรเครดิต KTC
โจทย์
คุณใช้บัตรเครดิตของค่าย VISA รูดซื้อสินค้าที่ประเทศญี่ปุ่น จำนวน 14,900 เยน
วิธีการคำนวณ
- นำค่าเงินเยน มาแปลงเป็นค่าเงิน US Dollars โดยใช้อัตราแลกเปลี่ยนที่ประกาศไว้ในหน้าเว็บไซต์ของ JCB โดยเลือกดูอัตราแลกเปลี่ยนที่ประกาศไว้ในวันที่เราใช้บัตรเครดิตรูดซื้อสินค้าทำรายการ
– อัตราแลกเปลี่ยน USD 1 = JPY 115.360 ดังนั้น JPY 14,900 จะเท่ากับ 14,900 ÷ 115.360 = USD 129.160
- เมื่อได้จำนวนเงินในค่าเงิน US Dollars แล้ว ก็นำมาแปลงให้เป็นเงินบาทอีกรอบหนึ่ง
– อัตราแลกเปลี่ยน USD 1 = THB 36.603 ดังนั้น USD 129.160 จะเท่ากับ 129.160 x 36.603 = 4,727.64 บาท
- นำค่าเงินบาทที่คำนวณได้ มาคำนวณกับค่าความเสี่ยงจากการแปลงสกุลเงินต่อ ซึ่งเราจะใช้ค่าของบัตรเครดิตอื่น ที่ไม่ใช่ บัตรเครดิต KTC
– 4,727.64 x 2.5% = 118.19 บาท
- สรุปยอดค่าใช้จ่ายที่จะแสดงรายการในใบแจ้งหนี้ สำหรับรายการนี้ คือ
– 4,727.64 + 118.91 = 4,846.55 บาท
ส่วนต่างที่เกิดขึ้น ระหว่างการคำนวณที่ 2% และ 2.5% มีมากกว่าที่คาดไว้ใช่ไหมคะ รายการใช้จ่ายที่มีมูลค่าเพียง 14,900 เยน ยังมีส่วนต่างมากถึง 24 บาท แล้วถ้าคุณรูดบัตรเครดิตจ่ายค่าที่พัก ค่าโรงแรม ช้อปปิ้งแบรนด์เนม หรือซื้อสินค้าจำนวนหลายชิ้น จะไม่ยิ่งเพิ่มให้ส่วนต่างมากขึ้นหนักไปกว่านี้หรอกหรือ นี่เป็นเหตุผลว่าทำไมก่อนที่จะรูดบัตรเครดิตซื้อสินค้าหรือใช้จ่ายที่ต่างประเทศ จึงจำเป็นต้องดูไปถึงค่าความเสี่ยงจากการแปลงสกุลเงิน นั่นเพราะคุณสามารถเลือกที่จะจ่ายน้อยกว่าได้ หากเลือกถือบัตรเครดิตที่มีค่าความเสี่ยงจากการแปลงสกุลเงินต่ำไปใช้จ่ายที่ต่างประเทศ
อย่างไรก็ตาม อยากจะบอกเหลือเกินสำหรับหลาย ๆ คนที่กำลังคิดว่า งั้นก็ตัดปัญหา ไม่ต้องใช้บัตรเครดิตรูดซื้อหรือใช้จ่ายอะไรที่ต่างประเทศเสียเลย จะได้ไม่ต้องมีค่าใช้จ่ายยิบย่อยตามมาเยอะแยะ ว่าอย่าได้มองข้ามข้อดีของการใช้บัตรเครดิตในต่างประเทศเป็นอันขาด เนื่องจากการพกบัตรเครดิตนั้นช่วยลดความเสี่ยงของการถือเงินสดได้อย่างมาก เมื่อคุณไม่ต้องถือเงินสดจำนวนมาก ๆ ความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นโดยไม่คาดคิดก็จะลดน้อยลงด้วย ดังนั้นการจะมีค่าใช้จ่ายเพียงหลักร้อยหลักพันบาท แลกกับความปลอดภัยในทรัพย์สินที่เพิ่มขึ้น ก็ถือว่าคุ้มค่าอยู่ดี เดินทางอย่างสบายใจดีกว่าจะมาคอยระแวดระวังเงินสดของเราทุกฝีก้าว และน่าจะเดินทางได้สนุกมากกว่าเป็นไหน ๆ จริงไหมล่ะคะ?