Ingvar Kamprad เจ้าของและผู้บุกเบิกกิจการร้านขายเฟอร์นิเจอร์ภายใต้ตราสินค้าชื่อเก่ IKEA สัญชาติสวีเดน ปัจจุบันอิงวาร์ คัมพราด ได้รับการจัดอันดับให้ติด 1 ใน 5 มหาเศรษฐีระดับโลกด้วยมูลค่ทรัพย์สินที่มากถึง 22 พันล้านเหรียญสหรัฐ หรือ ประมาณ 7.37 แสนล้านบาทค่ะ อุปนิสัยและทัศนคติที่ผลักดันและส่งเสริมให้อิงวาร์ก้าวมาได้ไกลและเติบโตขึ้นมาอย่างมั่นคงจนกลายเป็นผู้นำด้านสินค้าเฟอร์นิเจอร์ระดับโลกนั้นมาจากความเป็นคนที่ชอบการค้าขาย, กล้าคิด กล้าทำ ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดก็คือการที่อิงวาร์เริ่มต้นขายไม้ขีดไฟตั้งแต่ยังเป็นเด็ก จุดที่ทำให้เขาเลือกไม้ขีดไฟเป็นสินค้าในเวลานั้นก็คือ เขาสังเกตว่ทุกบ้านในแถบนั้นต้องใช้กันทุกครอบครัว เมื่อเห็นโอกาสอย่างนี้ เด็กชายอิงวาร์ก็รีบหาข้อมูลแหล่งขายไม้ขีดไฟ และเมื่อพบว่าสามารถซื้อไม้ชีดไฟได้ในราคาส่ง โดยจะแพคมาเป็นถุงเป็นถังให้เขาก็ไม่รีรอที่จะลองสั่งมาแล้วแยกขายปลีกให้เพื่อนบ้านแถว ๆ นั้น จากประกายเล็ก ๆ ในวัยเด็กทำให้อิงวาร์ทำกำไรจากการขายไม้ขีดไฟได้อย่างสวยงามค่ะ
นอกจากเป็นคนรู้จักศึกษาหาข้อมูลเพื่อทำการค้าแล้ว อิงวาร์ยังไม่ชอบการหยุดนิ่ง ดังนั้นกำไรที่หาได้จากการขายไม้ขีดไฟ ก็ได้ถูกแปรเป็นเงินทุนสำหรับซื้อสินค้าประเภทอื่นมาขายเพิ่มเติม ไม่ว่าจะเป็นการ์ดอวยพร, ของตกแต่งต้นคริสต์มาส, เมล็ดพันธุ์ดอกไม้ต่าง ๆ, ปากกาลูกลื่น จนถึงดินสอก็มีค่ะ ด้วยความมุ่งมั่นที่จะทำการค้า เมื่ออายุได้ 17 ปี อิงวาร์ก็ตัดสินใจเปิดร้านขายของทั่ว ๆ ไปขึ้นมาโดยตั้งชื่อร้านว่า IKEA ภายในร้านตอนนั้นมีข้าวของเครื่องใช้มากมาย ทั้งนาฬิกา, เครื่องประดับ, กระเป๋า, เครื่องเขียน และของสด จนมาถึงเฟอร์นิเจอร์ที่เขาทดลองนำมาขายดูผ่าน Mail Order แต่กลับได้รับผลกำไรดีเกินคาด จากจุดนั้นเอง อิงวาร์ตัดสินใจทันทีว่า นี่แหละคือสินค้าที่เขาต้องการจะขาย เมื่อแน่ใจในสินค้าดีแล้ว เขาก็หาความรู้เกี่ยวกับเฟอร์นิเจอร์ทั้งเรื่องของการออกแบบ, การประกอบ, การขนส่ง และการจัดวางสินค้า ในยุคนั้น ใคร ๆ ก็ขายของทาง Mail Order คล้าย ๆ กับ e-commerce ตอนนี้ค่ะ และสู้กันบนทะเลแดงคือการลดราคาเพื่อแย่งลูกค้า อิงวาร์จึงมองต่างออกไปว่า เขาต้องการเปิดตลาดด้วยกลยุทธ์ที่แตกต่าง ไม่ใช่การกีดเลือดกันเองแบบนี้ ดังนั้น IKEA จึงเป็นห้างเฟอร์นิเจอร์รายแรกที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในสแกนดิเนเวียช่วงนั้น และเป็นเจ้าแรกที่ทำให้ลูกค้าได้สัมผัส ได้ทดลองนั่งเฟอร์นิเจอร์ก่อนที่จะซื้อกลับไป
การออกแบบเฟอร์นิเจอร์ของอิเกียนั้น ใช้หลักคิดสั้น ๆ 3 ข้อใหญ่ก็คือ Minimalism, Functionalism และ Flat ซึ่งหมายความรวมกันว่า การออกแบบที่เน้นความเรียบง่าย น้อย ๆ แต่ดูดี ใช้ประโยชน์ได้มาก และแบนเรียบในการขนส่ง โดยดีไซเนอร์ของอิเกียทั้งที่เป็นพนักงานประจำและนักออกแบบอิสระกว่า 90 คน จะได้รับโจทย์หลักนี้เหมือนกันทั้ง 3 ข้อ และวัสดุนั้นต้องเป็นวัสดุเหลือใช้หรือวัสดุแบบใหม่ ๆ ด้วยค่ะ เป็นการบ้านที่ต้องการคำตอบเรียบ ๆ แต่วิธีคิดคำตอบนี้คงต้องเป็นนักออกแบบขั้นเทพจริง ๆ นะคะ ที่มาของแนวคิดสุดเก๋ของอิเกียก็มาจากมุมมองดี ๆ ของอิงวาร์ที่ว่า เขาต้องการเฟอร์นิเจอร์ที่สามารถจัดวางไว้ได้ทุก ๆ ที่ของบ้าน, มีความคงทน, สวย, ใช้สอยได้มาก และราคาไม่แพง ใคร ๆ ก็สามารถซื้อหาได้ เพราะเขาเชื่อว่าการออกแบบเฟอร์นิเจอร์ราคาพันดอลลาร์ไม่ใช่เรื่องยาก แต่การออกแบบเฟอร์นิเจอร์ราคาหลักห้าสิบดอลลาร์ให้ใช้งานได้จริง ใช้งานได้ทน นี่สิงานน่าสนใจและท้าทายมากกว่า จากมุมมองของอิงวาร์ในวันนั้น ทำให้มีอิเกียในวันนี้ และทำให้อิเกียขยายสาขาไปได้สวยงามถึง 287 สาขาใน 41 ประเทศทั่วโลก กวาดลูกค้าไปได้มากกว่า 655 ล้านคนตั้งแต่ปี 2011 ค่ะ
นอกจากความสามารถในการเป็นนักคิดที่โดดเด่นมากคนหนึ่งแล้ว อิงวาร์ ยังขึ้นชื่อเรื่องการใช้ชีวิตเรียบง่ายอย่างรู้ค่าของเงินมากที่สุดคนหนึ่ง เพราะเขาคิดเสมอว่า พนักงานอาจจะดูเขาเป็นแบบอย่างอยู่ ดังนั้นเขาจึงควรเป็นตัวอย่างที่ดี มีอยู่ครั้งหนึ่งอิงวาร์ไปประชุมงานที่ต่างประเทศ และต้องเข้าพักที่โรงแรม เขาอยากกินอาหารที่มินิบาร์ในห้องพักมาก ๆ แต่ก็รู้ว่าราคาที่คิดจะแพงกว่าข้างนอกเยอะสุด ๆ เขาก็เลยเลือกที่จะเดินออกไปซื้อขนมที่ร้านด้านนอกมากกว่าที่จะจ่ายแพงให้กับอาหารที่สะดวกตรงหน้าค่ะ ความน่าประทับใจในภาวะความเป็นผู้นำสไตล์ อิงวาร์ คัมพราด ที่สำคัญอีกอย่างก็คือ เขามักให้ความสำคัญกับ “ผู้คน” ที่เขาร่วมงานด้วยเสมอ จะเห็นได้ว่าเขามักจะเรียกพนักงานของเขาว่า “ผู้ร่วมงาน” มากกว่าจะใช้คำว่า “ลูกจ้าง” หรือการใช้วิธีเขียนจดหมายให้พนักงานรุ่นหนุ่ม ๆ สาว ๆ ของบริษัทอิเกีย หันมาพัฒนาตัวเองจากเรื่องเล็ก ๆ อย่างการใช้กระดาษทั้ง 2 ด้านให้คุ้มค่า ไปจนถึงเรื่องการรู้จักคุณค่าของเวลาให้มากขึ้น เช่นที่เขาเคยตั้งคำถามง่าย ๆ ว่า คุณสามารถทำอะไรได้บ้างในเวลา 10 นาที แล้วก็ให้พนักงานลองแบ่งหน่วยนาทีออกเป็นหน่วยย่อย ๆ หน่วยละ 1 นาที จากนั้นก็ลองใช้เวลาแต่ละนาทีให้มีประโยชน์มากที่สุด หรือ ใช้ให้สูญเปล่าน้อยที่สุดดู นับเป็นไอเดียกระตุ้นการทำงานของพนักงานที่ดูเรียบง่าย แต่แฝงไว้ด้วยแง่คิดที่น่าค้นหานะคะ นี่แหละค่ะความสำเร็จแบบอิงวาร์ แห่งอิเกีย
อยากมีบทความดี ๆ แบบนี้ สั่งซื้อเลย รับเขียนบทความ 1000content.com