Sundar Pichai CEO คนใหม่ของ Google กว่าจะมีวันนี้เขาต้องพากเพียรศึกษาหาความรู้มากว่าใครหลาย ๆ คน แต่แล้วความสามารถในการพัฒนาระบบ Google Chrome บราวน์เซอร์ที่ออกแบบมาเพื่อโกยเงินก้อนมหาศาลให้กับบริษัท Google ไปมากมายถึง 6 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ และยังสามารถกินส่วนแบ่งการตลาดทั่วโลกไปได้มากถึง 45% ในปี 2014 ที่ผ่านมา ด้วยวิสัยทัศน์ของนักวางแผนและนักพัฒนาที่มองว่าสักวัน Internet Explorer น่าจะค่อยกลืนและดีด Google Toolbar ออกไปจากระบบ Google จึงควรเริ่มสร้างตจุดแข็งและลงหลักให้กับตัวเองเสียก่อน ไอเดียทำเงินนี้คือจุดเปลี่ยนชีวิตของ Sundar Pichai ให้ก้าวขึ้นมารับบทบาทสำคัญในการคุมบังเหียนบริษัทระดับโลก และเป็นชาวเอเซียสัญชาติอินเดียเพียงไม่กี่คนที่ขึ้นมายืนในจุดบริหารระดับนี้ได้ค่ะ
ในช่วงเริ่มงานแรก ๆ ของ Sundar ที่บริษัท Google นั้น เขารับผิดชอบงานด้านการพัฒนาระบบ Google Toolbar จนเมื่อโปรเจคนั้นสำเร็จ ก็เปลี่ยนมาดูแลโปรเจคสำคัญที่เขาเองเป็นเจ้าของไอเดียอย่าง Google Chrome และในช่วงที่เขาดูแลพัฒนาระบบ Chrome อยู่นั้นก็จำเป็นต้องประสานงานกับทีมพัฒนาระบบ Android ไปด้วย ซึ่งทีมนี้ขึ้นชื่อเรื่องความรั้นและ Ego สูงมาก จนคนในบริษัทต่างก็บ่นว่าประสานงานยากกว่าคุยงานลูกค้าใหญ่ ๆ อย่าง Apple ซะอีก แต่ Sundar ก็สามารถผ่านบททดสอบการประสานงานกับหน่วยงานนี้มาได้ จนเมื่อตำแหน่งหัวหน้าทีมพัฒนาระบบ Android ว่างลง เขาก็ได้รับมอบหมายให้มาดูแลงานนี้ต่อ ซึ่งในช่วงแรก ๆ ของการเข้ามาคุมทีมระดับหัวกะทิทีมนี้ Sundar ได้ให้สัมภาษณ์ว่างานสำคัญงานแรกก็คือการเรียกขวัญและสร้างความมั่นใจให้กับสมาชิกในทีม และตัวเขาเองก็สังเกตว่าแม้ทีมพัฒนาระบบของ Android จะมีขนาดเล็กแต่ก็เป็นทีมที่มีประสิทธิภาพในการทำงานเป็นอย่างดี งานลำดับต่อมาของเขาก็คือการเชื่อมความสัมพัทธ์ระหว่างทีมพัฒนาระบบ Android กับทีมงานส่วนอื่น ๆ ของบริษัท ด้วยการใช้โปรเจค Google Now เป็นตัวงานหลักในการเชื่อมโยงทุกคนเข้าหากัน วิสัยทัศน์และกลยุทธ์ด้านการสร้างทีมและให้ความสำคัญกับความสัมพันธ์ระหว่างทีมเป็นเรื่องที่สำคัญอันดับต้น ๆ สำหรับ Sundar เสมอ อันที่จริง ความสามารถในการเป็นนักการทูตหรือนักเจรจาของ Sundar นั้น แม้แต่ Larry Page เองยังเปรยว่า Sundar เป็นนักพูดที่ดีเพราะเขาสามารถอธิบายเรื่องระบบปฏิบัติการไอทีที่มีแต่ศัพท์เทคนิคยาก ๆ ให้เป็นภาษาง่าย ๆ และทำให้บรรดานักลงทุนเกิดความเข้าใจง่ายขึ้นอีกด้วยค่ะ และในขณะเดียวกัน Sundar ยังเป็นเหมือนโฆษกประจำตัวของ Page เพราะ Sundar สามารถถ่ายทอดไอเดียและแนวคิดของเขาส่งต่อให้กับพนักงานของ Google ได้เป็นอย่างดีค่ะ
บทบาทที่โดดเด่นของ Sundar ในการเข้ามารับช่วงงานในฝ่ายพัฒนาระบบ Android ต่อมานั้น นับว่าโดดเด่นไม่น้อยเลย เริ่มจากเป็นคนชูประเด็นเรื่อง Project Svelte ที่มีส่วนช่วยลดการใช้ทรัพยากรของเครื่องบน Android 4.4 ซึ่งทำให้ผู้ผลิตฮาร์ตแวร์จำนวนไม่น้อยหันมาสนใจและผลิตอุปกรณ์สำหรับ Android 4.4 กันมากขึ้น ต่อมาก็ตัดสินใจยกเลิกโปรเจค Android PC ด้วยเหตุผลที่ว่ามันถูกออกแบบมาทับซ้อนกับรูปแบบการทำงานของโปรเจค Google Chrome Book และเปลี่ยนมาสนับสนุนเรื่องโครงการ Android TV แทน นอกจากนั้น ภายหลังจากที่บริษัท Google ได้เข้าซื้อกิจการของ Nestlabs แล้ว Sundar ก็เลือกปิดโครงการ Android ที่เกี่ยวข้องกับอุปกรณ์ Smarthome ซะ เพราะเขามองว่า ส่วนนี้มีความแตกต่างจากอุปกรณ์พื้นฐานของ Android มากเกินไป ในมุมของการบริหารกลยุทธ์ด้านการตลาดนั้น Sundar ยังมีบทบาทสำคัญในการโน้มนาวให้ Larry Page ไปเยี่ยมชมโรงงานผลิตสินค้าของ Samsung ที่ประเทศเกาหลีใต้ เพราะเล็งเห็นว่าจะเป็นประโยชน์ในการกระชับความสัมพัทธ์ของทั้งสองแบรนด์ได้แนบแน่นขึ้น และสุดท้ายจากการเดินทางในครั้งนั้น ก็ทำให้ทั้งสองบริษัทยักษ์ใหญ่ลงเอยด้วยการเซ็นสัญญาความร่วมมือระหว่างกันขึ้นมา ไม่เพียงเท่านั้น Sundar ยังเป็นคนที่เจรจากับทางบริษัท Samsung โดยตรงด้วยตนเองในเรื่องของ UI Magazine UX ที่การออกแบบนั้นมีการปิดบังและซ่อนรูปแบบของหลักการทำงานของ Android ไว้มากเกินไป จนท้ายที่สุด Samsung ก็ยอมอ่อนและยืดหยุ่นให้กับเขาด้วยเช่นกัน
จากความสำเร็จอย่างต่อเนื่องและความสามารถรอบด้านของหนุ่มอินเดียฝ่ายพัฒนาระบบของ Google คนนี้ฉายแววโดดเด่นเข้าตาบริษัทชั้นนำแห่งวงการไอที ทั้ง Twitter และ Microsoft ต่างก็ต้องการตัวเขาไปร่วมทีมฝ่ายบริหารด้วย แต่สุดท้าย Sundar ก็เลือกอยู่กับครอบครัว Google ต่อไปในฐานะ CEO คนใหม่ ครั้งหนึ่ง Bloomberg และ Businessweek ได้ถาม Sundar ถึงความแตกต่างระหว่างระบบปฏิบัติการ iOS กับ Android ซึ่ง Sundar ก็ได้เคยแสดงมุมมองของเขาว่า 2 สิ่งนี้ไม่สามารถนำมาเปรียบเทียบกันได้ แต่ถ้าจะเปรียบกันจริง ๆ iOS ก็เหมือนกับรถยนต์ Mercedes-Benz ส่วน Android ก็เหมือนกับรถยนต์ Honda Civic และได้ให้เหตุผลว่า เพราะการสร้างรถยนต์ราคาสูง ๆ ก็ต้องออกแบบมาอย่างใส่ใจลงในทุก ๆ รายละเอียด แต่สำหรับรถยนต์ที่ราคาไม่แพงมากนั้น คนธรรมดาทั่วไปก็สามารถเข้าถึงได้ง่ายมากกว่า ซึ่งสำหรับ Apple แบรนด์ด้านไอทีชั้นยอดแห่งหนึ่งก็ทำสินค้าต่าง ๆ ออกมาได้ดีมาก ๆ ทีเดียว แต่ถึงอย่างนั้น จุดหมายหลักของ Apple และ Google นั้นแตกต่างกันอยู่แล้ว เพราะสำหรับ Google บริษัทจะเน้นให้ผู้ใช้งานที่มีอยู่ทั่วโลกนั้น สามารถเข้าถึงเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ ๆ ของบริษัทได้ โดยไม่ได้แบ่งแยกเพศ, วัย และชนชั้น ที่สำคัญกว่านั้นก็คือ Google มุ่งหวังให้ทุกคนมีพื้นฐานการใช้เทคโนโลยีในชีวิตที่ดีขึ้น นับได้ว่า Sundar Pichai กลายเป็น Brand Ambassador ทีดีคนหนึ่งให้กับ Google ไปเรียบร้อยค่ะ
อยากมีบทความดี ๆ แบบนี้ สั่งซื้อเลย รับเขียนบทความ 1000content.com