ถ้าจะเปรียบชีวิตของคนเราเป็นการเดินก้าวขึ้นบันได้สู่ความสำเร็จทางการงานอาชีพและการเงิน การจะเดินก้าวขึ้นไปในแต่ละขั้นนั้น เราแต่ละคนต้องใช้ความตั้งใจและความเพียร เพื่อให้ขึ้นไปยืนในขั้นที่สูงขึ้น ตัวอย่างของผู้ที่ประสบความสำเร็จจากสูงจนขึ้นมาเป็นเศรษฐีคนล่าสุดของโลกและเป็นที่กล่าวถึงมากที่สุดในช่วงนี้ คงไม่มีใครเกิน Sundar Pichai CEO คนใหม่แห่ง บริษัท Google บริษัทที่ใครก็อยากร่วมเป็นส่วนหนึ่งของที่นี่ เรื่องราวความเป็นมาของ Sundar อาจจะช่วยสอนให้เราหลาย ๆ คนได้คิดว่า หนทางความสำเร็จนั้นไม่เคยมีใครเดินบนกลีบกุหลาบตลอดเวลา และเส้นทางที่เราเดินกันอยู่นั้น อาจจะราบรื่นกว่าของ Sundra เสียอีก แล้วทำไมเรายังไม่ได้ขึ้นบันไดความสำเร็จเหมือนชายคนนี้สักที
Sundra Pichai หนุ่มอินเดียวัย 43 ปี มาจากครอบครัวที่มีฐานะลำบาก ตัวเขาเกิดและเติบโตขึ้นมาในเมืองเชนไน ที่ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของอินเดีย เพื่อให้คุณ ๆ เห็นภาพความเป็นอยู่ของเขาชัดขึ้น ขอบอกว่าเมืองนี้เป็นเมืองที่มีประชากรอาศัยอยู่หนาแน่นถึง 4.4 ล้านคนค่ะ ครอบครัวของเขาพักอาศัยในอพาร์ทเมนท์ห้องเช่าขนาดเล็กอยู่ด้วยกัน 4 คน คือ พ่อ, แม่, น้องชายและก็ตัวเขา ด้วยฐานะการเงินของครอบครัวที่ไม่ได้มีเงินทองมากนัก เขาและน้องชายจึงต้องนอนที่ห้องับแขกตั้งแต่เล็กจนโต พ่อของเขาทำงานเป็นวิศวกรเล็ก ๆ ในโรงงานประกอบชิ้นส่วน และแม่ก็เคยทำงานเป็นเสมียน แต่พอมีลูกก็ออกจากงานมาเป็นแม่บ้านเต็มตัว บ้านของเขาเพิ่งจะมีโทรศัพท์ใช้ในบ้านก็ตอนที่ Sundar อายุได้ 12 ขวบแล้ว เรื่องการเดินทางไปไหน ๆ แบบครอบครัว ก็จะมีแต่รถมอเตอร์ไซค์คันเก่าของพ่อเป็นรถคู่ใจ ไปไหนมาไหนทีก็จะมีพ่อเป็นคนขับ, แม่นั่งซ้อนและน้องชายนั่งตัก ส่วนเขาก็รับหน้าที่ยืนเกาะที่หน้ารถพ่อเป็นประจำ แม้ว่าที่บ้านจะมีปัญหาเรื่องการเงิน แต่กลับไม่ได้เป็นอุปสรรคสำหรับการศึกษาของ Sundra นัก เพราะความที่เขาเป็นเด็กเรียนดี และขยันหาความรู้ ทำให้เขาสามารถเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรีด้านวิศวกรรมวัสดุที่มหาวิทยาลัยชั้นนำของประเทศอินเดีย Indian Institute of Technology จากการความเพียรและความฉลาดระดับหัวกะทิทำให้เขาสามารถคว้าทุนการศึกษาในระดับปริญญาโทจากมหาวิทยาลัยสแตมฟอร์ด ประเทศสหรัฐอเมริกาในเวลาต่อมา ความตั้งใจเดิมของ Sundar นั้นคือการเรียนหนังสือสูง ๆ จบด็อกเตอร์และกลับมาเป็นนักวิชาการหรือไม่ก็อาจารย์ในมหาวิทยาลัย แต่เหมือนเส้นทางกำหนดไว้แล้ว ทำให้เขาต้องเปลี่ยนมาเริ่มต้นอาชีพวิศวกรที่โรงงานผลิตวัสดุแห่งหนึ่งในซิลิคอน วัลเลย์ ประเทศสหรัฐอเมริกา หลังจากทำงานไปได้ไม่นาน เขาก็ตัดสินใจหาความรู้เพิ่มเติมด้านงานบริหาร และเลือกเรียนต่อปริญญาโทอีกใบด้าน MBA จากมหาวิทยาลัยในสหรัฐอเมริกา เมื่อเรียนจบเขาก็เข้ามาทำงานตำแหน่งที่ปรึกษาฝ่ายบริหารในบริษัท McKinsey & Company จนกระทั่งเข้าปี 2004 Sundar จึงได้ตัดสินใจมาร่วมงานกับ Google ในส่วนงานพัฒนา Google Toolbar เพื่อให้ระบบสามารถตอบสนองการใช้งานค้นหาข้อมูลได้ง่ายขึ้น
เมื่องานด้าน Toolbar สำเร็จได้ด้วยดี Sundar ก็เลยนำเสนอไอเดียพัฒนา Google Chrome ให้เป็น browser ของ Google เอง เพราะเขาเล็งเห็นว่า Internet Explorer อาจจะค่อย ๆ กัน Google Toolbar ออกจากระบบได้ เพื่อป้องกันและตั้งหลักให้มั่นไว้ก่อน Google จึงควรมี browser ของตัวเอง แต่โปรเจคนี้กลับถูกปฏิเสธโดย CEO ในตอนนั้น หรือก็คือ Eric Schmidt แต่เมื่อปี 2008 ที่ผ่านมา การเปิดตัว Chrome กลับได้รับการยอมรับและความนิยมอย่างมากจากผู้ใช้งาน จนถึงปัจจุบันนี้ Chrome ถือครอง 1 ใน 3 ของสัดส่วนการตลาดบราวเซอร์ที่มีผู้นิยมใช้งานสูง จนทำให้ Google สามารถเพิ่มรายได้ให้บริษัทได้มากถึง 6 หมี่นล้านเหรียญสหรัฐ จากความสำเร็จและความตั้งใจทำงานในครั้งนั้น ทำให้ Sundar ได้รับความไว้วางใจให้นำทัพในโปรเจคสำคัญอื่น ๆ ของ Google อีกมากมาย อย่างเช่น Chromebook คอมพิวเตอร์แบบพกพาราคาเบา ๆ , Google Drive ระบบจัดเก็บข้อมูลบน Cloud และ การปรับระบบจัดการ Google Map ที่ให้บริการแผนที่ดิจิตอลผ่านระบบ GPS แต่บันได้ในการทำงานออฟฟิสนั้น ไม่ใช่เรื่องง่าย ๆ ยิ่งเมื่อเขาต้องมาร่วมงานพัฒนาระบบปฏิบัติการ Android ร่วมกับ Andy Rubin และทีมงานระดับหัวกะทิที่มีอีโก้แบบจัดเต็ม บวกกับความต้องการของลูกค้ารายใหญ่อย่าง Samsung ทำให้ Sundar ฉายแววนักพูด นักคิด และนักพัฒนาแบบจัดเต็ม เมื่อเขาสามารถเจรจา, แก้ไขและปรับปรุงระบบงานได้แบบบัวไม่ช้ำน้ำไม่ขุ่น บุคลิกของ Sundar ยังได้รับคำยืนยันจาก Larry Page หนึ่งในผู้ก่อตั้ง Google ด้วยว่า Sundar สามารถอธิบายเรื่องซับซ้อนทางไอทีที่มีแต่ศัพท์ยาก ๆ ให้นักลงทุนทั่วไปฟังได้เข้าใจง่ายขึ้น และเปรียบ Sundar เหมือนกับโฆษกประจำตัวเขา เพราะสามารถถ่ายทอดไอเดียและความคิดของ Page ไปยังพนักงานของ Google ได้เป็นอย่างดี หรือแม้แต่เพื่อนร่วมงานของเขาเองก็ให้ฉายาเขาว่า Mr. Niceguy หรือ นายแสนดี เพราะอุปนิสัยถ่อมตัว, ไม่หักหน้าและไม่ชอบความขัดแย้ง บวกกับลักษณะเฉพาะตัวที่เป็นผู้นำทีมที่ให้ความรู้และคำแนะนำกับทีมตลอด ทำให้ทีมงานของ Sundar เป็นทีมที่เข้มแข็งมาก ๆ ทีมหนึ่งของบริษัท บันไดสู่ความสำเร็จของ Sundar แม้จะเริ่มจากศูนย์แต่ก็สามารถก้าวขึ้นมาเป็นเศรษฐีนักบริหารหน้าใหม่ที่น่าชื่นชมมาก ๆ คนหนึ่งค่ะ
อยากมีบทความดี ๆ แบบนี้ สั่งซื้อเลย รับเขียนบทความ 1000content.com